เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 5. พหุธาตุกสูตร

เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็น
บัณฑิต”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาเครื่องไตร่ตรอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน
อายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และฉลาดในฐานะและอฐานะ อานนท์ ด้วย
เหตุมีประมาณเท่านี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาเครื่องไตร่ตรอง”

ผู้ฉลาดในธาตุ

[125] ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธาตุ 18 ประการนี้ คือ
1. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุประสาท)
2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
3. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
4. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตประสาท)
5. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์)
6. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ)
7. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานประสาท)
8. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์)
9. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ)
10. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาประสาท)
11. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์)
12. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :161 }